บทที่ 1
ระบบ (System)
ความหมายของระบบ
ระบบ หมายถึง ระบบการทำงานขององค์การต่างๆ ที่ประกอบด้วยระบบย่อยๆ หลายระบบรวม
กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์หรือวัตถุประสงค์ร่วม
กันหรืออย่างเดียวกัน เช่น ระบบโรงเรียน ระบบโรงพยาบาล ระบบธนาคาร ระบบบริษัท ระบบห้างร้าน
เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบ
1. องค์ประกอบแบบ 6 M
1.1 Man หมายถึง บุคลากร คือ ผู้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับระบบงาน
1.1 Man หมายถึง บุคลากร คือ ผู้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับระบบงาน
1.2 Money หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีค่าเป็นเงินของระบบ
1.3 Material หมายถึง ตัวสินค้าหรือวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้า
1.4 Machine หมายถึง เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในโรงงาน
1.5 Management หมายถึง การบริหารระบบ
1.6 Morale หมายถึง ขวัญและกำลังใจของบุคคล
2. องค์ประกอบแบบ 4 ส่วน
2.1 Input หมายถึง ข้อมูลหรือระบบข้อมูลที่ใช้เข้าสู่ระบบ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบสั่งซื้อสินค้า
เป็นต้น
2.2 Processing หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
2.3 Output หมายถึง ผลการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น
2.4 Feedback หมายถึง ข้อมูลย้อนกลับ หรือผลสะท้อนที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน
กระบวนการ (Procedure)
คือ การแสดงถึงการทำงานแต่ละขั้นตอน
(What) สิ่งที่ถูกกระทำ
(What) สิ่งที่ถูกกระทำ
(When) จะทำเมื่อไร
(Who) ใครเป็นคนทำ
(How) จะทำอย่างไร
นักวิเคราะห์ระบบ
คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์กร ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้า
มาช่วยแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ โดยการแก้ไขปัญหาในที่นี้หมายถึง การมองปัญหาในรายละเอียดที่แท้
จริง ตรงประเด็น และเข้าใจรายละเอียดของปัญหาในทุกๆด้าน
ชนิดของระบบสารสนเทศ
1.ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing systems :TPS
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information systems: MIS
3.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)
4.สารสนเทศที่ใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support systems :DSS)
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information systems: MIS
3.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)
4.สารสนเทศที่ใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support systems :DSS)
5.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :ESS)
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES )
ชนิดของระบบสารสนเทศ
ขั้นตอนการออกแบบ และวิเคราะห์ระบบ
•ศึกษาวิจัยและทำความเข้าใจกับปัญหา
•ตรวจสอบถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการแก้ไขปัญหา และความคุ้มค่าต่อการลงทุน
•กำหนดความต้องการสำหรับการแก้ไขปัญหา
•สร้างโซลูชัน (Solution) หรือแนวทางแก้ไขปัญหาหลายๆ แนวทาง
•เลือกโซลูชันที่ดีและเหมาะสมที่สุด
•กำหนดรายละเอียดของโซลูชันที่เลือก
•นำโซลูชันนั้นไปใช้งาน
•ตรวจสอบและติดตามผล เพื่อความมั่นใจว่าได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์