บทที่ 2
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
(Information System Development)
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
(Information System Development)
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Systems Development Life Cycle : SDLC)
ประกอบไปด้วยระยะต่างๆ ดังนี้
ระยะที่ 1 : การวางแผนโครงการ (Project Planning)
ระยะที่ 2 : การวิเคราะห์ (Analysis)
ระยะที่ 3 : การออกแบบ (Design)
ระยะที่ 4 : การนำไปใช้ (Implementation
ระยะที่ 5 : การบำรุงรักษา (Maintenance)
ระยะที่ 1 การวางแผนโครงการ (Project Planning)
- การกำหนดปัญหา (Problem Definition) การเขียนแผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) เป็น
อีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการค้นหาสาเหตุของปัญหาได้เป็นอย่างดี อาจจะมีชื่อ
เรียกแผนภูมินี้อีกหลายชื่อ เช่น Cause-and-Effect Diagram หรือ Ishikawa Diagram
- การกำหนดเวลาโครงการ (Project Schedule) เป็นการกำหนดว่าโครงการจะต้องทำอะไรบ้าง
แต่ละกิจกรรมต้องใช้ ทรัพยากรอะไร และใช้ระยะเวลาเท่ไหร่ การจัดลำดับความสัมพันธ์ของแต่ละ
กิจกรรม โดยจะพิจารณาว่า กิจกรรมใดควรทำก่อน กิจกรรมใดควรทำทีหลัง เครื่องมือที่นักวิเคราะห์
ระบบ นิยมนำมาใช้ในการจัดทำแผนกำหนดเวลาโครงการ คือ แผนภูมิ แกนต์ (Gantt Chart) และเพิร์ต
(PERT)
ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ (Analysis)
เป็นการศึกษาระบบงานปัจจุบันพร้อมระบุแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการที่ดีขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแนวคิดสำหรับระบบใหม่ขึ้นมา สิ่งที่สำคัญของระยะนี้ก็คือ “การรวบรวมความต้องการ (Requirement Gathering)” โดยจะตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้“ใคร (Who) เป็นผู้ใช้ระบบ มีอะไรบ้าง (What) ที่จะต้องทำ และทำที่ไหน (Where) เมื่อไหร่ (When)”
- วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน
- วิเคราะห์ความต้องการในด้านต่างๆ เพื่อสรุปเป็นข้อกำหนด
- นำข้อกำหนดมาพัฒนาออกมาเป็นความต้องการของระบบใหม่
- สร้างแบบจำลองกระบวนการ (Data Flow Diagram : DFD)
- สร้างแบบจำลองข้อมูล (Entity Relationship Diagram : ERD )
- รวบรวมเอกสารที่สร้างขึ้นมาจัดทำเป็นข้อเสนอระบบ (System Proposal)
เป็นการศึกษาระบบงานปัจจุบันพร้อมระบุแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการที่ดีขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแนวคิดสำหรับระบบใหม่ขึ้นมา สิ่งที่สำคัญของระยะนี้ก็คือ “การรวบรวมความต้องการ (Requirement Gathering)” โดยจะตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้“ใคร (Who) เป็นผู้ใช้ระบบ มีอะไรบ้าง (What) ที่จะต้องทำ และทำที่ไหน (Where) เมื่อไหร่ (When)”
- วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน
- วิเคราะห์ความต้องการในด้านต่างๆ เพื่อสรุปเป็นข้อกำหนด
- นำข้อกำหนดมาพัฒนาออกมาเป็นความต้องการของระบบใหม่
- สร้างแบบจำลองกระบวนการ (Data Flow Diagram : DFD)
- สร้างแบบจำลองข้อมูล (Entity Relationship Diagram : ERD )
- รวบรวมเอกสารที่สร้างขึ้นมาจัดทำเป็นข้อเสนอระบบ (System Proposal)
ระยะที่ 3 การออกแบบ (Design)
เป็นระยะที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานระบบ ด้วยการนำ แบบจำลองเชิงตรรก (Logical
Model) ที่ได้จากระยะวิเคราะห์มาพัฒนา เป็นแบบจำลองเชิงกายภาพ (Physical Model)
- การจัดหาระบบ
- ออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ (Architecture Design)
- ออกแบบเอาต์พุตและยูสเซอร์อินเตอร์เฟซ
- การออกแบบฐานข้อมมูล
- การสร้างต้นแบบ
- ออกแบบโปรแกรม
ระยะที่ 4 การนำไปใช้ (Implementation Phase)
การนำไปใช้จะเกี่ยวข้องกับการสร้างระบบ การทดสอบและการติดตั้งระบบ
- สร้างส่วนประกอบซอฟต์แวร์
- ตรวจสอบความถูกต้องและทดสอบระบบ
- แปลงข้อมูล
- ติดตั้งระบบ
- จัดทำเอกสารระบบ
- ฝึกอบรมและสนับสนุนผู้ใช้
- ทบทวนและประเมินผลระบบภายหลังการติดตั้ง
ระยะที่ 5 การบำรุงรักษา (Maintenance)
โดยปกติแล้ว ระยะการบำรุงรักษา จะไปถูกนำเข้าไปรวมไว้ใน ขั้นตอนของ SDLC จนกว่า
ระบบจทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ระยะนี้จะใช้เวลานานที่สุดเมื่อเทียบกับระยะอื่นเนื่องจากระบบ
จะต้อง ได้รับการบำรุงรักษาตลอดระยะเวลาที่มีการใช้งาน กิจกรรมในระยะการบำรุงรักษา ประกอบ
ด้วย
- การบำรุงรักษาระบบ
- การเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ เข้าไปในระบบ
- การสนับสนุนงานผู้ใช้