4.2 ส์ญส์กษณ์ที่ใช้ในการเฃืยนแผนภาพกระแสข้อมูล

4.2 ส์ญส์กษณ์ที่ใช้ในการเฃืยนแผนภาพกระแสข้อมูล
         
          สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแผนภาพกระแสข้อมูลนั้น ประกอบด้วย 4 สัญลักษณ์ ที่แสดงถึงการประมวลผล การไหลของข้อมูล ส่วน,ที่ใช้เก็บ'ข้อมูล และสิ่งที่อยู่นอกระบบ โดยได้มีการศึกษาคิดด้นพัฒนาวิธีการอยู่หลายแบบ แต่ที่เป็นมาตรฐานมี 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่คิดค้นโดย Gane and Sarson (1979) และ กลุ่มของ DeMarco and Yourdon 


(SeMarco, 1979) ถึงแม้สัญลักษณ์บางอย่างของสององค์กรนี้จะต่างกัน แต่องค์ประกอบของแผนภาพและหลักการ เขียนแผนภาพไม1ได้แตกต่างกัน ดังตารางที่ 4.1
ในหนังสือเล่มนี้จะใช้สัญลักษณ์ในการเขียน DFD ตามแนวคิดของกลุ่ม Gane and Sarson
เนื่องจากสัญลักษณ์การเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล ประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งมีความหมายใน ตัวเอง ดังนั้นการเขียนแผนภาพกระแสข้อมูลจึงต้องมีกฏเกณฑ์ต่างๆ เพื่อแสดงถึงความถูกต้องในการเขียนแผนภาพ ดังนี้
การประมวลผล (Process) เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่ง (Input) ไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง (Output) เซ่น การคำนวณรายได้สุทธิของลูกจ้างรายวัน จะต้องประกอบด้วยข้อมูลนำเข้าที่เป็น "อัตราค่าจ้างต่อ ชั่วโมง” และ “จำนวนชั่วโมงการทำงาน” เมื่อผ่านการประมวลผลแล้วจะได้ “รายได้สุทธิ”
ตัวอย่างการประมวลผล ได้แก่
คำนวณค่าคอมมีซช้น ตรวจสอบใบสั่งซื้อ ลงทะเบียน เป็นต้น การใช้สัญลักษณ์การประมวลผล
1.     ต้องใช้สัญลักษณ์การประมวลผล (Process) คู่กับสัญลักษณ์ กระแสข้อมูล (Data Flow) เสมอ โดยที่ ถ้าลูกศรซื้เข้าหมายถึงเป็นข้อมูลนำเข้า ถ้าลูกศรซื้ออกหมายถึงเป็นข้อมูลออกจากการประมวลผล ซึ่ง 1 Process สามารถมีข้อมูลนำเข้ามากกว่า 1 เล้นหรือข้อมูลออกมากกว่า 1 เล้นัได้
2.     การตั้งซื่อของ Process ควรเป็นวลีเดียวที่อธิบายการทำงานทั้งหมดได้ และควรอธิบายการทำงานอย่าง ใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะมากกว่าที่จะอธิบายการทำงานอย่างกว้างๆ เซ่น หากแสดงถึงการประมวลผล “ตรวจสอบ รายการ” ควรจะระบุว่าเป็น “การตรวจสอบรายการถอนเงิน” หรือ “ตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายรายสัปดาห์” เป็นต้น
3.      แต่ละ Process จะมีแต่'ข้อมูลเช้าอย่างเดียว หรือออกอย่างเดียวไม่ได้
กระแสข้อมูล (Data Flow) เป็นเสันทางในการไหลของข้อมูลจากส่วนหนึ่ง ไปยังอีกส่วนหนึ่งของระบบ สารสนเทศ โดยจะมีลูกศรแสดงถึงการไหลจากปลายลูกศร ไปยังหัวลูกศร ซึ่งข้อมูลที่ปรากฏบนเสันนี้จะเป็นได้ทั้ง ข้อความ ตัวเลข รายการเรคคอร์ดที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ ตัวอย่างกระแสข้อมูล ได้แก่ ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสร็จรับเงิน เกรดของนักศึกษา
ใบส่งของที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว เป็นต้น การใข้สัญลักษณ์กระแสข้อมูล
1.    กระแสข้อมูลสามารถใข้คู่กับการประมวลผล (Process), สิ่งที่อยู่นอกระบบ (External Entities) หรือ แหล่งเก็บข้อมูล (Data Store) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับระบบงานว่า ข้อมูลนั้นจะนำไปไว้ที่ไหน หรือข้อมูลนั้นจะนำออกจากส่วน ใด

1.     การตั้งซื่อกระแสข้อมูล โดยทั่วไปจะตั้งซื่อด้วยคำเพียงคำเดียว ที่มีความหมายซัดเจนและเข้าใจง่าย ควรกำกับซื่อบนเสันด้วย คำนาม เซ่น “เวลาทำงาน”, ใบสั่งซื้อสินค้า” เป็นต้น
2.     ควรตั้งซื่อกระแสข้อมูล ตามข้อมูลที่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วหลังจากออกจากการประมวลผล เนื่องจาก การประมวลผลหรือ Process ใช้แสดงถึงการเปลี่ยนข้อมูล หรือการส่งผ่านข้อมูล ตังนั้น Data Flow ที่ออกจาก Process มักจะมีการเขียนซื่อกำกับให้แตกต่างออกไ,ปจาก Data Flow ที่เข้ามาใน Process เสมอ
แหล่งที่เก็บข้อมูล (Data Store) เป็นส่วนที่ใข้แทนซื่อแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูล เพราะมีการประมวลผลหลาย แบบที่จะต้องมีการเก็บข้อมูลไว้เพื่อที่จะได้นำไปใช้ภายหลัง ซึ่งแหล่งเก็บข้อมูลจะต้องมีทั่งข้อมูลเข้าและข้อมูลออก โดยข้อมูลที่ออกจากแหล่งเก็บข้อมูลจะอยู่ในลักษณะที่ถูกอ่านขึ้นมา ส่วนข้อมูลที่ไหลเข้าสู่แหล่งเก็บข้อมูลจะอยู่ใน รูปของการบันทึก การเพิ่ม-ลบ แก้ไข
ตัวอย่างแหล่งเก็บข้อมูล ได้แก่ แฟ้มคนไข้
แฟ้มพนักงาน เป็นต้น
การใช้สัญลักษณ์แหล่งเก็บข้อมูล
1.     ต้องใช้สัญลักษณ์แหล่งเก็บข้อมูล (Data Store) คู่กับสัญลักษณ์ กระแสข้อมูล (Data Flow) เสมอ โดยที่ ถ้าลูกศรขึ้เข้าหมายถึง เป็นข้อมูลนำเข้าไปเก็บยังแหล่งเก็บ ถ้าลูกศรขึ้ออกหมายถึง อ่านข้อมูลจากแหล่งเก็บข้อมูลไป ใช้ในการประมวลผล
2.      Data store ต้องเชื่อมต่อการประมวลผล (Process) เสมอโดยเชื่อมผ่านกระแสข้อมูล (Data Flow)
3.    เนื่องจาก Data store ใช้แทนสิ่งที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับคน, สถานที่, หรือสิ่งของ ตังนั้นควรเขียนซื่อกำกับ ด้วยคำนาม เซ่น “แฟ้มข้อมูลสินค้า”, “แฟ้มเวลาทำงานของพนักงาน” เป็นต้
1.     ใช้อักษรย่อ D1, D2 เป็นต้น เขียนด้านซ้ายมือของสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าเป็นแหล่งเก็บข้อมูลอันที่เท่าใด สามารถเขียนซํ้าในระดับต่างๆ ของแผนภาพกระแสข้อมูลได้
2.     Data store ใช้แทนสิ่งที่เป็นที่เก็บข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการทำด้วยมือ หรือเก็บในรูปแบบคอมพิวเตอร์คือ แฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล ก็ได้
สิ่งที่อยู่ภายนอก (External Entity) เป็นส่วนที่ใข้แทนคน แผนกภายในองค์กร และแผนกภายนอกองค์กร หรือระบบสารสนเทศอื่นที่เป็นส่วนที่จะให้ข้อมูลหรือรับข้อมูล
สิ่งที่อยู่นอกระบบนี้ใข้แสดงถึงขอบเขตของระบบสารสนเทศ และแสดงถึงว่าระบบที่ศึกษาอยู่นี้จะติดต่อ กับสิ่งที่อยู่ภายนอกด้วยวิธีใด (นำข้อมูลเข้ามา หรือได้ข้อมูลออกไป)
ตัวอย่างสิ่งพี่อย่ภายนอก ได้แก่
นักศึกษา                                                          - สินค้าคงคลัง เป็นต้น
สมาซิก เป็นต้น
การใช้สัณลักษณ์สิ่งที่อยุ่ภายนอก
1.  ใช้สัญลักษณ์สิ่งที่อยู่ภายนอกดู่กับสัญลักษณ์กระแสข้อมูลเสมอโดยที่ถ้าลูกศรชี้เข้า หมายถึง เป็นการ นำข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกเข้าสู่ระบบ ถ้าลูกศรชี้ออก หมายถึง ส่งข้อมูลจากระบบไปให้หน่วยงานภายนอก